9 ขั้นตอน เขียนตำราให้สำเร็จ

1068 จำนวนผู้เข้าชม  | 

9 ขั้นตอน เขียนตำราให้สำเร็จ

การเขียนหนังสือตำราวิชาการ แม้จะมีโครงสร้างเหมือนหนังสือเล่มทั่วไป คือ มีคำนำ/คำนิยม สารบัญ เนื้อหา อ้างอิงและบรรณานุกรม แต่ก็มีความละเอียดซับซ้อนและใช้ความเพียรมากกว่าการเขียนหนังสือแบบทั่วไปหลายเท่า เพราะนอกจากจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้แล้ว ในแวดวงการศึกษาหนังสือตำราวิชาการยังเป็นประโยชน์ในแง่สร้างชื่อเสียงและการยอมรับในวงวิชาการ ความก้าวหน้าในอาชีพการทำงาน ความมั่นคงในการทำงาน

วันนี้สำนักพิมพ์วิชขอแนะนำ 9 ขั้นตอน ที่ทุกท่านสามารถใช้เพื่อเขียนหนังสือตำราวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านให้สำเร็จ

1.เลือกหัวข้อ : เลือกหัวข้อที่น่าสนใจ และมีความเชี่ยวชาญ ตรงกับสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา และเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สอนอยู่ในหลักสูตร หรือสอดคล้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่จะขอตำแหน่งวิชาการ เลือกหัวข้อที่ยังไม่ได้ถูกเขียนมากนักและมีความแตกต่างจากผู้อื่น

2.การตั้งชื่อหนังสือ : ใช้ชื่อเดียวกับรายวิชา สั้น กระชับ น่าสนใจ ควรเป็นชื่อที่แพร่หลาย ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด และไม่ควรซ้ำกับตำราที่มีอยู่

3.วางแผนการเขียน : กำหนดโครงสร้างหนังสือ กำหนดจำนวนบท หัวข้อหลัก หัวข้อรอง อย่างเป็นระบบ เนื้อหาสมบูรณ์ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน มีการขยายเนื้อหาที่เขียนในแต่ละหัวข้อให้ลุ่มลึก มีการวิเคราะห์และเสนอความรู้ที่ทันสมัยเป็นประโยชน์ มีการสอดแทรกความคิด ประสบการณ์ งานวิจัย การอ้างอิงในเนื้อหาและบรรณานุกรม ใช้รูปแบบการอ้างอิงถูกต้องและเหมือนกันทั้งเล่ม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจน สรุปท้ายด้วยส่วน "สรุป" หรือ "สรุปผล" เพื่อสรุปความสำคัญและแสดงความคิดเห็นส่วนตัว

4.เขียนเนื้อหาต้นแบบ : กำหนดรูปแบบที่ทำให้น่าสนใจ อ่านได้ง่าย ชัดเจน มีการนำเสนออย่างเป็นระบบในแต่ละบท นำเสนอด้วยภาพ/แผนผัง/แผนภาพ/ตาราง เพื่อให้เข้าใจง่าย อ้างอิงที่มาของรูปภาพ/แผนผัง/แผนภาพ/ตาราง ให้ชัดเจน หรือควรถ่ายรูปเอง

5.การใช้ภาษา : ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ถูกต้อง เป็นทางการ คงเส้นคงวา อย่าเขียนวกวน

6.การอ้างอิง : มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและครบถ้วน มีการอธิบายสาระสำคัญชัดเจน เอกสารที่ใช้ในการอ้างอิงไม่ควรเกิน 10 ปี ควรอ่านจากต้นฉบับ โดยอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ต้องอ้างอิงข้อความ รูปภาพของผู้อื่นในเนื้อหาแต่ละบท ต้องแสดงรายการเอกสารอ้างอิงที่ได้ระบุไว้ในเนื้อหาของแต่ละบททั้งหมดในบรรณานุกรม

7.ข้อควรระวัง : เนื้อหาขาดการวิเคราะห์และเสนอความรู้ที่ทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ขาดการสอดแทรกความคิด/ ประสบการณ์/ งานวิจัยทั้งของตนเองและผู้อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน/ วงวิชาการ และเอกสารอ้างอิงเก่าเกินไป/ ไม่ทันสมัย/ ไม่อ้างอิง/ อ้างอิงไม่ครบ

8.การตรวจแก้ไขต้นฉบับ : การเขียนหนังสือตำราวิชาการ นอกจากผู้เขียนจะเป็นผู้ตรวจหลักในทุกกระบวนการแล้ว ผู้เขียนควรให้ผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน หรือทีมบรรณาธิการมืออาชีพ ช่วยตรวจดูเรื่องภาษาที่ใช้ ความเข้าใจ และการอ้างอิงต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด ก่อนที่จะเผยแพร่ และส่งด่านตรวจสำคัญคือด่านผู้ทรงคุณวุฒิ

9.การเผยแพร่ : หลังผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว การเผยแพร่ต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนในหลักสูตรเท่านั้น เช่น การตีพิมพ์/ สื่ออิเลกทรอนิกส์/ E-Book เป็นต้น

สำนักพิมพ์วิช ขอเป็นกำลังใจให้คณาจารย์ทุกท่าน สร้างสรรค์ตำราวิชาการได้สำเร็จ ผ่านพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อความสำเร็จของคณาจารย์ทุกท่าน ด้วยทีมงานมืออาชีพที่คร่ำหวอดในวงการสิ่งพิมพ์นานกว่า 30 ปี ให้บริการครบจบในที่เดียว

ดูตัวอย่างผลงานคุณภาพของเรา
ได้ที่ https://bit.ly/3gy0hrS
ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โทร : 063 362 8955
Line : @wishbooks
-------------------------
ขอบพระคุณข้อมูลอ้างอิงจากเพจ
เขียนผลงานเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
โดย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สุมิตร สุวรรณ ค่ะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้