5 เรื่องต้องรู้ ในการลงทุนทำหนังสือด้วยตัวคุณเอง

421 จำนวนผู้เข้าชม  | 

5 เรื่องต้องรู้ ในการลงทุนทำหนังสือด้วยตัวคุณเอง

ข้อดีของคนที่พร้อมลงทุนทำหนังสือด้วยตนเอง คือ คุณสามารถเลือกและตัดสินใจพิมพ์ผลงานหนังสือของคุณเองออกมาเผยแพร่ได้ตามวาระและเวลาที่คุณต้องการ ที่สำคัญคือจะปังหรือจะพังก็เป็นประสบการณ์ที่คุณเป็นคนเลือกตัดสินใจด้วยตัวคุณเอง แต่จะลงทุนทำหนังสือทั้งที ก็ต้องทำให้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จ วันนี้สำนักพิมพ์วิชจึงอยากแบ่งปัน 5 เรื่องต้องรู้ สำหรับเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนทำหนังสือด้วยตัวเองมาฝากกันค่ะ

1.เป้าหมายในการมีผลงานหนังสือของคุณคืออะไร
มากกว่าแค่อยากมีผลงานหนังสือเป็นของตัวเอง สิ่งสำคัญคือคุณต้องตอบตัวเองให้ได้ คือคุณลงทุนทำหนังสือไปเพื่ออะไร เช่น คุณหวังที่จะเป็นนักเขียนเต็มเวลาในท้ายที่สุด หรือคาดหวังรายได้จากการขายหนังสือ หรือหวังว่าหนังสือของคุณได้สร้างประโยชน์อย่างมากต่อผู้อ่าน หรือเพื่อทำตามความฝันที่จะได้ตีพิมพ์หนังสือให้สมบูรณ์ หรือเพื่อทำวิทยฐานะ ฯลฯ การทำความเข้าใจว่าเป้าหมายของคุณคืออะไร จะช่วยให้คุณวางแผนงบประมาณ บทบาทการเป็นนักเขียน การตัดสินใจ และยอมรับในผลลัพธ์ที่จะเกิดตามมาได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

2.ยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
การลงทุนมีความเสี่ยง เมื่อคุณตัดสินใจลงทุนทำหนังสือด้วยตัวคุณเอง คุณย่อมเป็นผู้รับผลกำไรและขาดทุนเองทั้งหมด ซึ่งนอกจากต้นทุนค่าผลิตหนังสือแล้ว สิ่งที่นักเขียนต้องคิดเผื่อ คือค่าธรรมเนียมฝากขายที่ต้องถูกหัก 40-45% ยังไม่นับรวมค่าการตลาด ค่าขนส่งต่าง ๆ ที่ต้องเคาะกันอย่างระมัดระวัง เพื่อตั้งราคาขายให้เหมาะสมกับผู้อ่าน กับการแข่งขันในตลาด และกับตัวคุณเองให้มากที่สุด ถ้ายอมรับจุดนี้ได้ก็ลุยต่อได้เลย

3.หาทีมงานมืออาชีพช่วยผลิตหนังสือ
การมีทีมงานมืออาชีพช่วยผลิตหนังสือให้ โดยเฉพาะทีมงานที่ให้บริการได้แบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำทั้งการให้คำปรึกษา งานบรรณาธิการ จดเลข ISBN งานจัดเล่ม ออกแบบปก จัดพิมพ์ จนถึงกระบวนการปลายน้ำคือประสานงานจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ จะช่วยทำให้คุณลดความกังวลในทุกขั้นตอนการผลิตหนังสือไปได้มาก

4.ลงทุนทำหนังสือทั้งที ต้องทำให้ประสบความสำเร็จ
นอกจากหนังสือสวย เนื้อหาดีแล้ว หนังสือที่ประสบความสำเร็จส่วนมาก คือ หนังสือที่นักเขียนให้เวลาใส่ใจทำการตลาด ทำกิจกรรมผลักดันหนังสือด้วยตัวนักเขียนเอง เช่น จัดงานเปิดตัวหนังสือให้เป็นที่รู้จัก การเปิดตัวเองเปิดพื้นที่ในโซเชียลมีเดีย ให้ผู้อ่านได้รู้จักพูดคุยติดตามผลงานได้ การจัดกิจกรรมพบปะนักอ่าน และการแนะนำผลงานหนังสือของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งนักเขียนจำเป็นต้องจัดสรรให้เวลากับสิ่งเหล่านี้
.
5.เตรียมเปิดรับเรื่องราวหรือโอกาสดี ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
ดังที่สำนักพิมพ์วิชมักบอกกับนักเขียนเสมอว่า หนังสือคือนามบัตรมีชีวิต ที่ช่วยแนะนำบ่งบอกความสามารถความเชี่ยวชาญของนักเขียนได้เป็นอย่างดี และหลังจากเผยแพร่หนังสือออกไปแล้ว อย่างน้อยที่สุดนักเขียนจะมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้นในฐานะผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น และจะมีคนนับถือยอมรับในความสามารถของคุณมากขึ้น ไปจนกระทั่งได้รับโอกาสดี ๆ ทางธุรกิจมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยกันเลย

ทั้งหมดนี้คือ 5 เรื่องต้องรู้ เพื่อประเมินความพร้อมในเบื้องต้น ว่าการทำหนังสือสักเล่มหนึ่ง นอกจากความพร้อมเรื่องการลงทุนแล้ว คุณยังต้องพร้อมเปิดรับประสบการณ์การเป็นเจ้าของหนังสือ การเป็นนักเขียน และเป็นนักการตลาดไปในเวลาเดียวกัน

สำนักพิมพ์วิชเรายินดีให้คำปรึกษาเรื่องการทำหนังสือด้วยทีมงานมืออาชีพและพร้อมให้บริการผลิตหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์แบบบครบวงจร

ชมตัวอย่างผลงานคุณภาพที่ลูกค้าไว้ใจเราได้ที่
https://bit.ly/3gy0hrS

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้