4 เรื่องควรรู้ เขียนผลงานวิชาการให้สำเร็จ

1156 จำนวนผู้เข้าชม  | 

4 เรื่องควรรู้ เขียนผลงานวิชาการให้สำเร็จ

มีคนกล่าวว่า พันธกิจของนักเขียนมีมากมาย แม้ไม่ใช่สิ่งยิ่งใหญ่ แต่จะส่งผลที่ยิ่งใหญ่ ฉันใด หน้าที่ทำวิจัย เขียนตำรา หรือหนังสือ เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการของอาจารย์ ก็เป็นอีกพันธกิจหนึ่งที่อาจารย์ทุกท่านหลีกหนีไม่ได้ ฉันนั้น

นี่เป็นอีกครั้ง ที่สำนักพิมพ์วิชได้มีโอกาสสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงประสบการณ์ในการเขียนหนังสือวิชาการ  ชีวโลหะศาสตร์ และเทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุสำหรับงานทันตกรรม เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการจนสำเร็จ และการยื่นขอตำแหน่งศาสตราจารย์ซึ่งกำลังเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตำแหน่งศาสตราจารย์อยู่ในขณะนี้

เหตุผลที่อาจารย์วิริทธิ์พล เลือกเขียนเรื่อง ชีวโลหะศาสตร์ และเทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุสำหรับงานทันตกรรม เล่มนี้ เพราะอาจารย์จบปริญญาเอกด้านโลหะศาสตร์ และเป็นอาจารย์สอนเรื่องนี้มาโดยตลอด 20 กว่าปี ระหว่างที่สอน ก็ทำวิจัยเกี่ยวกับด้านวัสดุศาสตร์

อาจารย์แนะนำว่า “การจะเขียนตำราได้ ไม่ใช่เพียงแค่ใช้ความรู้ แต่จะต้องอาศัยประสบการณ์ และผลงานวิจัย สนับสนุนองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในหนังสือด้วย สรุปคือ ควรเลือกเขียนเรื่องที่ตัวเองเชี่ยวชาญ และเป็นงานวิจัยที่ทำมาตลอดตั้งแต่เรียนจบมา”

โดยหนังสือ ชีวโลหะศาสตร์ฯ เริ่มเขียนช่วงสถานการณ์โควิด-19  ทำให้อาจารย์มีเวลาเขียน เมื่อเขียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว จึงติดต่อกับสำนักพิมพ์วิช และได้คำแนะนำว่า ขอให้เตรียมเนื้อหา โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นบท ๆ ให้ชัดเจนก่อน ส่วนงานบรรณาธิการ การจัดหน้า ออกแบบ อื่น ๆ สำนักพิมพ์วิชเป็นผู้สนับสนุนและดูแลให้

หนังสือเล่มนี้ มีความหนา 308 หน้า ซึ่งกว่าจะสำเร็จได้ ก็มีการแก้ไขต้นฉบับกันไปมากับทีมบรรณาธิการของสำนักพิมพ์วิชพอสมควร เนื่องจากแพลตฟอร์มการทำหนังสือ กับไฟล์เวิร์ดของอาจารย์ไม่เหมือนกัน ทำให้ต้องตรวจแก้กันให้ได้ตามที่ต้องการ กว่าที่จะได้เป็นต้นฉบับ นำส่งให้กรรมการโครงการตำราชุดแรก (กรรมการภายในคณะ) พิจารณา ว่าจะให้ทุนสนับสนุนหรือไม่ แต่หากอาจารย์ไม่ต้องการทุนสนับสนุน ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย

ซึ่งการที่มหาวิทยาลัยมีโครงการตำรา ถือว่าเป็นการรับรองระดับหนึ่ง ว่ามีกรรมการอีกชุดหนึ่งตรวจหนังสือ และให้การสนับสนุน โดยโครงการตำรา จะมีกรรมการอยู่ 2 ชุด เป็นกรรมการในคณะ และกรรมการภายนอก (Peer Reviewer) ซึ่งมีผลในการใช้ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ว่าหนังสือเล่มนี้ได้มีการประเมินจากกรรมการชุดแรกแล้ว อันนี้ค่อนข้างสำคัญ ทั้งนี้การส่งผลงานให้คณะกรรมการพิจารณา ก็ต้อง Print On Demand แบบเหมือนจริงให้เรียบร้อย โดยที่จุฬาฯ จะใช้กรรมการตรวจทั้งหมด 5 ท่าน และใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1 เดือน

สำหรับหนังสือ ชีวโลหะศาสตร์ และเทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุสำหรับงานทันตกรรม เล่มนี้ ส่วนที่ถูกแก้ไขมากที่สุด คือ เรื่องการใช้ภาษาไทย ด้วยงานเขียนเป็นภาษาไทย เนื้อหาทุกอย่างจึงต้องเป็นภาษาไทยทั้งหมด แต่เนื่องจากหนังสือเล่มเป็นหนังสือด้าน Medical ด้านทันตกรรม เป็นเรื่องเทคโนโลยี คำบางคำจึงไม่มีภาษาไทย ติดต่อทางราชบัณฑิตยสภา ก็ไม่มีคำภาษาไทย จึงแนะนำให้เขียนทับเสียง ก็ยิ่งทำให้อ่านยากขึ้นไปอีก สุดท้ายกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการตำรา แนะนำให้ทำเป็นอภิธานศัพท์ (Glossary) ซึ่งช่วยได้มาก สำหรับคำศัพท์ที่ไม่เคยมีมาก่อน

เล่มนี้หลังจากที่ผ่านการประเมินและอนุมัติจากโครงการตำราเรียบร้อยแล้ว จึงตีพิมพ์และวางจำหน่ายผลงานโดยการประสานงานต่าง ๆ จากสำนักพิมพ์วิช จากนั้นจึงยื่นเรื่องขอตำแหน่งศาสตราจารย์ โดยจะมีคณะกรรมการภายในคณะพิจารณาคุณสมบัติ รวมถึงเอกสารทุกอย่างให้ครบถ้วน ซึ่งใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือน เมื่อผ่านพิจารณาแล้ว จึงยื่นเอกสารทั้งหมด ให้กรรมการคณะพิจารณาอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่จะยื่นเรื่องถึงมหาวิทยาลัย ในการสรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณาตำแหน่งต่อไป

โดยสรุป เคล็ดลับในการทำผลงานทางวิชาการ คือ

1. เลือกหัวข้อที่ถนัด และเริ่มเขียนโครงขึ้นมาก่อน เขียนแล้วอาจมีเติมเนื้อหาไปเรื่อย ๆ ได้ อย่างน้อยขอให้มีโครงขึ้นมา ตรงนี้จะทำให้เรามีความมั่นใจ และมีกำลังใจว่าจะต้องสำเร็จ

2. การเขียนหนังสือวิชาการ ต้องใช้ความรู้ด้านงานวิจัยที่อาจารย์มีด้วย เพื่อเสริมเข้าไปให้ตัวหนังสือมีคุณค่า ว่าเป็นองค์ความรู้ของอาจารย์เอง

3. ระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์ การใช้รูปหรือตารางที่เคยถูกตีพิมพ์แล้ว ควรดำเนินการขอลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย อย่าคิดว่าไม่เป็นไร เรื่องนี้สำคัญมาก

4. เรื่องที่มีผลมาก ๆ ในการทำหนังสือ คือ การเลือกทีมทำงาน เพราะถ้าสำนักพิมพ์ให้การช่วยเหลือได้ดี ชีวิตการทำหนังสือจะง่ายขึ้นมาก


ท้ายนี้ รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์ และสำนักพิมพ์วิช ขอให้ทุกท่านที่กำลังคิดจะขอตำแหน่งทางวิชาการ จงประสบความสำเร็จและได้ตำแหน่งทางวิชาการตามที่ต้องการ ส่วนใครที่เริ่มทำหนังสือก็พยายามต่อไป เริ่มแล้วต้องประสบความสำเร็จแน่นอนค่ะ

--------------------------------------
ดูตัวอย่างผลงานคุณภาพของเราได้ที่ https://bit.ly/3gy0hrS
ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โทร : 063 362 8955 หรือ Line : @wishbooks
---------------------------------------
บทสรุป อ้างอิงจากบทสัมภาษณ์
โดย รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์
อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กับบรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์วิช  คุณจารุวรรณ เวชตระกูล

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้