3540 จำนวนผู้เข้าชม |
จากที่วิชได้นำเสนอเรื่องราวของการทำหนังสือตำราวิชาการเพื่อยื่นพิจารณาขอตำแหน่ง ทำให้เราพอมองเห็นภาพรวมของกระบวนการเพื่อยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ระดับ ผศ. รศ. หรือ ศ. (https://bit.ly/43RzfBRXX) และเรื่องข้อควรระวังในการจัดทำตำรา (https://bit.ly/3KrIsdi) กันไปแล้ว
ครั้งนี้ สำนักพิมพ์วิชจะนำเสนอข้อมูลเรื่อง Peer Reviewer และผู้ทรงคุณวุฒิฯ มาให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจ เพราะเป็นคำถามที่สอบถามเข้ามากันบ่อยอีกคำถามหนึ่ง และมีความสับสนระหว่างคำว่า “Peer Reviewer” และ “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และใครคือผู้ที่จัดหา Peer Reviewer และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำตำราวิชาการหรือการยื่นขอพิจารณาตำแหน่ง
Peer Reviewer คือ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่ประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเผยแพร่ผลงาน และส่งเอกสารผลงานเพื่อยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการต่อไป
โดยแต่ละสถาบันจะกำหนดจำนวน Peer Reviewer ไม่เท่ากันว่าต้องมีกี่ท่าน และไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ แต่ขอให้มีความความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่จะประเมิน
ส่วนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ หรือในแวดวงอาจารย์ มักเรียกกันว่า ผู้ทรงคุณวุฒิฯ
อ้างอิง ตามประกาศ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
กำหนดให้ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ เป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ ตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
ที่สำคัญคือ ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต้องมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ทางคณะและมหาวิทยาลัย ต้องทำเป็นเรื่องลับ ห้ามบอก ห้ามเปิดเผย
สรุปโดยย่อ Peer Reviewer คือ ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการ ที่อาจารย์สามารถคัดสรรเองได้ ไม่เป็นความลับ ส่วน ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ทางคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จะเป็นผู้คัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนด และเป็นความลับ
ทั้งนี้นอกจากตามประกาศ ก.พ.อ. แล้ว ยังมีประกาศระเบียบการเพิ่มเติมของแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนั้น เรื่องของ Peer Reviewer และ ผู้ทรงคุณวุฒิฯ อาจารย์ควรยึดตามประกาศ ก.พ.อ. และระเบียบการของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้หลักเกณฑ์การพิจารณาต่าง ๆ จะเป็นไปตามแต่ละสถาบันการศึกษาเป็นผู้พิจารณา หรือเป็นผู้ออกระเบียบในการดำเนินการซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน โดยทางผู้ขอพิจารณาตำแหน่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษารายละเอียด หรือพิจารณาข้อมูลจากผู้ที่ได้ยื่นพิจารณามาก่อน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม และเป็นประโยชน์ในการวางแผนการทำตำราวิชาการหรือดำเนินการเพื่อการทำแผนยื่นพิจารณาตำแหน่งได้อย่างสัมฤทธิผลต่อไป
สำนักพิมพ์วิช ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ทุกท่าน สร้างสรรค์ผลงาน และยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของอาจารย์เอง และเป็นความรู้ให้กับแวดวงการศึกษาไทยได้สำเร็จ สำนักพิมพ์วิช และทีมบรรณาธิการมือชีพ ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำหนังสือ
--------------------------------------
ดูตัวอย่างผลงานคุณภาพของเราได้ที่ https://bit.ly/3gy0hrS
ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โทร : 063 362 8955 หรือ Line : @wishbooks
---------------------------------------
บทสรุป อ้างอิงจากบทสัมภาษณ์
โดย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สุมิตร สุวรรณ
กับบรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์วิช คุณจารุวรรณ เวชตระกูล