หนังสือ CRITICAL THINKING FOR REASONED DECISION MAKING

คุณสมบัติสินค้า:

Unplug Coding บทเรียนจากภารกิจถ้ำหลวง การสร้างภาพยนตร์สารคดี The Rescue และการสร้างหลักสูตรชลกร

หมวดหมู่ : หนังสือ(Book)

Share

ทำไมเราต้องมี Critical Thinking

โลกใบนี้มีข้อมูลอยู่มากมาย ข้อมูลบางอย่างเป็นข้อมูลที่เรารู้และเชื่อสนิทใจว่าใช่ ว่าถูกต้อง ถึงแม้จะมีข้อมูลใหม่ที่ตรงกันข้ามกับความคิดของเราก็ตาม แล้วเราจะตัดสินใจอย่างไรว่า สิ่งไหนถูกต้อง และสิ่งไหนทำให้เราเชื่อว่าถูกต้อง

หนังสือ Think again ของ อดัม แกรนต์ (Adam Grant) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์และขึ้นเป็นอันดับ 1 ของ New York Times Best Selling ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ใช้กระบวนการคิดใหม่เพื่อแก้ปัญหา เช่น ความพยายามของนักดับเพลิงที่จะดับไฟป่าที่โหมกระหน่ำและลุกลามอย่างรวดเร็ว ในกรณีนี้มีนักดับเพลิงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มแรก ทำตามที่เรียนมา โดยใช้เครื่องดับเพลิงขนาดบรรจุ 20 กิโลกรัม เพื่อเอาชีวิตรอดจากเพลิงไหม้ ด้วยน้ำหนักของอุปกรณ์ทำให้วิ่งหนีไฟได้ช้าลง นักดับเพลิงส่วนใหญ่จึงเสียชีวิตในกองเพลิง ถามว่า นักดับเพลิงทำผิดในขั้นตอนใดหรือไม่ คำตอบคือ นักดับเพลิงทำตามทุกอย่างที่ได้เรียนและฝึกปฏิบัติมา เพราะการทิ้งอุปกรณ์ก็เหมือนทิ้งเครื่องมือสำคัญในการดับไฟของเขาเช่นกัน

กลุ่มที่ 2 คิดนอกกรอบ ทำการจุดไฟเผาเพิ่มในบริเวณรอบ ๆ เพื่อให้เชื้อเพลิงบริเวณที่ตนเองอยู่นั้นเผาไหม้เรียบร้อย พร้อมกับขุดดินหลบไฟในพื้นด้านล่าง เมื่อไฟลามมาถึง เชื้อเพลิงด้านบนได้ถูกเผาไหม้ไปเรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีเชื้อเพลิงให้เผา สามารถใช้บริเวณนั้นหลบไฟและรอดชีวิตมาได้ เมื่อเป็นวิธีที่แก้ไขปัญหาได้สำเร็จ วิธีนี้จึงได้บรรจุอยู่ในตำราเรียนของนักผจญเพลิง

หรือกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เหตุการณ์เพลิงไหม้ที่โรงงานสารเคมีแห่งหนึ่ง แรงระเบิดส่งผลให้บ้านเรือนที่อยู่ในรัศมีใกล้เคียงเกิดความเสียหาย และต้องอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตรเพื่อความปลอดภัย เหตุการณ์ครั้งนี้มีเชื้อเพลิงส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่อยู่ใต้ดินซึ่งต้องใช้โฟมดับไฟ แต่ผ่านไปเกือบวัน ยิ่งดับเท่าไร สักพักไฟก็จะปะทุขึ้นมาหากสารเคมีสัมผัสกับความชื้นในอากาศอีกครั้ง ถ้าใช้โฟมดับอย่างต่อเนื่อง คงต้องรอให้สารเคมีภายในถังหมด น่าจะใช้เวลาอีกหลายวันทีเดียว จึงได้นำโดรน NOVY มาบินสำรวจเพื่อบันทึกภาพให้เห็นว่าเปลวเพลิงอยู่จุดไหน บริเวณใดมีความร้อนมากน้อยขนาดไหน พร้อมสำรวจจุดที่เป็นหัวจ่ายเปิด-ปิดวาล์วสารเคมี ก่อนที่จะวางแผนและส่งเจ้าหน้าที่ที่สวมชุดป้องกันฝ่าเปลวเพลิงเข้าไปปิดวาล์วถังสารเคมีได้สำเร็จ จำนวน 3 หัว จนสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ 

เพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน เราจำเป็นจะต้องมีความสามารถในการ Rethink หรือ Critical Thinking โดยยอมรับว่าความคิดแรกนั้นอาจจะไม่ถูกต้อง แต่การยอมรับว่าความคิดของเราเป็นความคิดที่ผิดนั้นมักจะเป็นเรื่องยาก เพราะขัดแย้งกับความรู้สึกภายในของตัวเราเอง เราจึงมักเห็นคนที่โต้เถียงบนความคิดของตัวเองเป็นหลัก โดยไม่ฟังความเห็นต่าง หรือที่เรียกว่า อยู่ในกับดักของ First-Instinct Fallacy เราจะทำหรือพูดในสิ่งที่เรานึกออกในครั้งแรกโดยไม่ได้คิดอะไร หรือเรียกว่า เป็นสัญชาตญาณเบื้องต้นของความคิด ที่สมองทำให้เราประหยัดพลังงาน บางครั้งก็เป็นสิ่งที่ดี หรือบางครั้งก็ไม่ได้เป็นตัวเลือกที่ดีเท่าไรนัก เพราะหารู้ไม่ว่าบนโลกนี้ยังมีความรู้อีกมากมายที่เราไม่รู้  


“หากเราสงสัยในความเข้าใจของตัวเอง
และเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ว่า เรายังขาดข้อมูลอะไรไป
และไม่ใช่สิ่งที่ปิด หรือตำหนิตัวเอง
แต่จงภูมิใจว่า เราได้ลดอคติในความคิดของเรา และเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่
นิสัยของการ Rethinking จึงสำคัญมาก”



จาก หนังสือ Think again กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มีกระบวนการคิด 3 รูปแบบหลักที่จะไม่ตอบสนองให้มีข้อสงสัยในความคิดของตัวเอง กระบวนการคิด 3 รูปแบบนี้ ได้แก่

1. การคิดแบบนักเทศน์ (Preacher) เชื่อมั่นว่า ความคิดของเรานั้นถูกต้องที่สุด จนใคร ๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ และพร้อมที่จะปกป้องความคิด ความเชื่อของตนอย่างแรงกล้า มักจะเห็นคนเหล่านี้เถียงหัวชนฝา ไม่ฟังความคิดของใคร แม้จะมีเหตุผลหรือหลักฐานมาสนับสนุนมากมายแค่ไหนก็ตาม

2. การคิดแบบทนายความ (Prosecutor) ความคิดที่พุ่งเป้าหาข้อโต้แย้งเพื่อเอาชนะความคิดเห็นผู้อื่น หาจุดอ่อนและจุดแข็งของฝ่ายตรงข้าม ใช้ลูกล่อลูกชนในการเจรจาเพื่อให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงของตนที่นำมาแสดงนั้นถูกต้อง เสมือนทนายความ

3. การคิดแบบนักการเมือง (Politician) ความคิดที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อหาเสียงให้คนรอบข้างเห็นด้วยกับตน หรือเชื่อในฝั่งเดียวกับเรา เป็นพวกเดียวกับเรา และพร้อมที่จะสนับสนุนความคิดของเรา ไม่ว่าเราจะพูดอะไรก็ตาม

คนส่วนใหญ่มักจะเปลี่ยนกระบวนการความคิดและวิธีการด้วยหมวก 3 ใบนี้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แต่จุดร่วมกันที่มี คือ ยังคงเชื่อในความคิดของตน และพร้อมจะหาหลักฐานหรือโน้มน้าวคนอื่น ๆ ให้คิดในแบบของตน ถ้าย้อนกลับไปภาพที่ 1.1 จะเห็นได้ว่า สิ่งที่เรารู้อาจจะเป็น 10% ของข้อมูลทั้งหมดบนโลกใบนี้ก็เป็นได้

การแก้ปัญหาคือ การใช้กระบวนการ Rethinking ซึ่งเป็นทั้ง ทักษะ (Skill) และ ความคิด (Mindset) ที่จะมาช่วยเราออกจากถ้ำแห่งความคิดเดิม ๆ ไปพบกับสิ่งใหม่ที่น่าค้นหามากขึ้น คำว่า Rethinking ถ้าหากจะเทียบให้ใกล้เคียงมากที่สุด ก็คือ ทักษะ Critical Thinking  

Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ คือ การพิจารณาตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยท้าทายโต้แย้งเหตุผลที่นำมากล่าวถึงนั้นอาจจะไม่ได้เป็นจริง ลองคิดในมุมมองอื่นที่มีความเป็นไปได้ และดูเหมือนว่า แนวทางของ Rethinking หรือ Critical Thinking กำลังเป็นทักษะที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งที่โลกกำลังต้องการ

 

 

 

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

 

ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก)


อดีต Manager ของบริษัทรถยนต์
ดูแลโครงการที่มียอดการผลิตทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคัน

ออกจากงานประจำ
ตามความฝันในการเปลี่ยนประเทศด้วยความรู้ผ่านการเป็นนักเขียน วิทยากร และที่ปรึกษา

ปัจจุบัน อาชีพที่ใช้เวลามากที่สุด
คือ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านการขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรให้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 47 แห่งทั่วประเทศ

ประวัติการทำงาน

- 2001-2019 : Toyota Daihatsu  Engineering & Manufacturing หน่วยงานวางแผนกลยุทธ์
ฝ่ายจัดซื้อ ระดับเอเชียแปซิฟิก

- 2019-ปัจจุบัน : วิทยากร และ CEO บริษัท TODA Consulting Co., Ltd.

- 2020-ปัจจุบัน : คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ผลงานหนังสือ

1. Parent Rangers

2. Toyota Mind

3. เล็กน้อย x สม่ำเสมอ = มหาศาล

4. เปลี่ยนยากเป็นง่ายด้วยการคิดบนกระดาษ 1 ใบที่คนญี่ปุ่นใช้

5. KM Knowledge Management


------------------------ 
ช่องทางการติดต่อ
Facebook : สรุปให้
Email : Supawitbkk@gmail.com
Tel : 06 2363 2527
------------------------ 

 


ธเนศ นะธิศรี
 

ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เชิงสารคดี (Executive Producer) เรื่อง The Rescue ของ National Geographic

เกิดที่ประเทศไทย เติบโตที่สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นคนเชื้อชาติไทย สัญชาติอเมริกัน เติบโตจากการเป็นลูกศิษย์ที่ช่วยเหลืองานหลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ด้านพุทธศาสนาในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สหรัฐอเมริกานั้น ก็ได้เรียนรู้องค์ความรู้ด้านการจัดการน้ำ และนำมาเผยแพร่ที่ประเทศไทย

เกษียณอายุจากงานประจำ
ตั้งแต่อายุ 30 ปี แล้วหันมาอุทิศตนตั้งใจเป็นจิตอาสาช่วยงานการกุศลเพื่อสังคมหลายโครงการ อาทิ ช่วยแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำร่วมกับภาครัฐและเอกชนในหลายประเทศ เช่น ไทย อินเดีย พม่า อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในจิตอาสาสำคัญของภารกิจการช่วยเหลือทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง

ประสบการณ์ทำงานที่สำคัญ

- 2009-ปัจจุบัน CEO ของ บริษัท Thai D Inc, ร้านอาหารไทยชื่อดังของเมืองแมเรียน (Marion) ได้รับการ Voted เป็น Top 10 ของรัฐอิลลินอยส์

- 2018-ปัจจุบัน International Team Leader ของ องค์กร American Groundwater Solutions, LLC และสมาชิกของ AWWA (American Water Work Association)

- 2020-2021 Executive Producer ของสารคดีเชิงภาพยนตร์ เรื่อง The Rescue ของ National Geographic ร่วมกับผู้กำกับรางวัล Oscars, Elizabeth Chai Vasarhelyi และ Jimmy Chin

- 2019-ปัจจุบัน เป็นจิตอาสาช่วยงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

- 2021-ปัจจุบัน Board of Directors ขององค์กร United Nation Association of America ของ Southern Illinois

ความสำเร็จจากงานจิตอาสาเพื่อสังคม

- 2018 รางวัล Human Right Defender จาก United Nation Association สหรัฐอเมริกา

- 2018 ได้รับใบประกาศการเชิดชูเกียรติจากสภาผู้แทนราษฏรของสภาคองเกรส สหรัฐอเมริกา ในด้านการทำเพื่อสังคม

- 2019 รางวัล Award of Excellence จาก Chamber of Commerce เมืองแมเรียน รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

- 2020 รางวัล Above Self Service จาก สโมสร Rotary Club ของ Thai Town, Hollywood เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

------------------------ 
ช่องทางการติดต่อ
thanetnatisiri@gmail.com
FB: Thanet Natisri
IG: Thanet Natisri
Tel: +1 (618) 751-9498
------------------------ 

ดร.ปริเวท วรรณโกวิท (อาจารย์ตุลย์)

ปัจจุบัน
หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยจบการศึกษาปริญญาเอก ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา สาขาภูมิศาสตร์

ประวัติการทำงาน

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเลคสุพีเรียสเตต สหรัฐอเมริกา

- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 
จากนักวิชาการสู่นักจัดการน้ำ

- งานสายวิชาการทั้งการสอน ทำงานวิจัย และเขียนบทความวิจัยที่หลากหลายโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นฐานข้อมูล

- ริเริ่มแนวคิด “ธนาคารน้ำใต้ดิน” กระทรวงมหาดไทย ให้เป็นแนวคิดที่มีวิทยาศาสตร์รองรับ ร่วมกับธเนศ นะธิศรี จาก American Groundwater Solution  

- ผู้จัดการข้อมูลเบื้องหลังภารกิจช่วยชีวิตทีมหมูป่าออกจากถ้ำหลวง โดยใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์เข้ามาเป็นฐานข้อมูลในการช่วยเหลือ 

- คณะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ กับ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช  

- จัดทำ “หลักสูตรชลกร” สำหรับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ปี 2020 นำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด เพื่อสร้างต้นแบบองค์ความรู้ “ธนาคารน้ำใต้ดิน”

- ขยายความรู้การจัดการน้ำอีกหลากหลายจังหวัด เช่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น, วิทยาลัยประมงติณณสูลานนท์

 
------------------------ 
ช่องทางการติดต่อ
Pariwate@gmail.com
Fb: Geoinfomatics at KMUTT
------------------------ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้